วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทสัมภาษณ์รุ่นพี่สถาปนิก...

           บทสัมภาษณ์รุ่นพี่สายวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือที่เรียกกันว่า "สถาปนิก" ครับผมก็ได้ติดต่อรุ่นพี่เลย จะขอเล่าถึงบรรยายกาศการสัมภาษณ์ค่อนข้างเป็นกันเองอยู่พอควร ครับบทสัมภาษณ์ตอนแรกก็ได้ถามตามหัวข้อคำถาม แต่เมื่อเสร็จเรื่องคำถามผมก็มีโอกาศได้คุยนอกเรื่องแต่ก็เป็นเรื่องราวในวิชาชีพ และได้แลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์กัน การบันทึกครั้งนี้ผมจะนำประสบการณ์ที่ได้รับรู้มาเผยแพร่เพื่ออาจจะเปิดมุมมองใหม่ต่อไป....
          ทั้งนี้ขอขอบคุณ พี่ สมิกษ์ พวงราช รหัส 46020055 มา ณ.ที่นี้ครับ
          ผู้บันทึก ศิริพันธ์ เวโรจน์ รหัส 50020073

          ประวัติ พี่ สมิกษ์ พวงราช หรือพี่มิกษ์ ได้จบการศึกษามาจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรม(หลัก) ตอนนี้เป็นสถาปนิกวิชาชีพ พี่มิกษ์ได้เล่าให้ผมฟังว่า เริ่มทำงานจากบริษัท Developer ประมาณเกือบปี แล้วก็ย้ายบริษัทกับหัวหน้าที่นำพี่มิกษ์เข้าทำงาน ทำได้ประมาณครึ่งปี ก็ย้ายมาอยู่บริษัทรับสร้างบ้าน ตอนนี้ก็จะสามปีแล้ว...ผมถามต่อว่าพี่มิกษ์ได้ทำอะไรบ้างในบริษัทรับสร้างบ้าน พี่มิกษ์เล่าว่าได้ทำตั้งแต่งานเอกสาร ออกแบบจนถึงขั้นตอนก่อสร้าง โดยบริษัทสร้างบ้านมีลักษณะแบบ Turn Key คือบริษัทสร้างบ้านแบบครบวงจร ที่มีสถาปนิก วิศวกร จนถึงผู้รับเหมาที่สร้างบ้าน ที่พี่มิกษ์สนใจทำงานบริษัทนี้เพราะ ได้ความรู้ในการออกแบบจนถึงวิธีการสร้างอาคาร(ไม่ใช่อาคารประเภทบ้านอย่างเดียวที่รับทำ) พี่มิกษ์เล่าต่อว่า ได้สนใจสำนักงานออกแบบและก่อสร้าง เพราะสนใจเรื่องก่อสร้าง,โครงสร้าง และอยากทำงานในระดับที่พักอาศัยขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ก็คิดว่าทำงานบริษัทก่อสร้างสักพักเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ไปพัฒนาเพื่อทำสำนักงานของตัวเอง...
          ผมก็ได้ถามเกี่ยวกับข้อคิดสำคัญในการทำงาน พี่มิกษ์ก็เล่าว่า เมื่อจบใหม่เราก็มีอุดมการณ์ คือ เราออกแบบอาคารใดก็อยากให้เกิดผลกระทบที่ดีต่อสังคม แต่พอมาอยู่บริษัทรับสร้างบ้านก็ต้องลดอุดมการณ์แบบนี้ลง เพราะมีเรื่องการเงินมาเกี่ยวข้อง ซึ่งจริงๆแล้วทุกบริษัทน่าจะยาก เพราะลูกค้าเป็นนายทุนบางครั้งเราต้องตามใจนายทุน มันอยูที่จะสามารถโน้มน้าวเจ้าของโครงการ ให้มาสนใจโปรเจคของเราที่น่าจะทำเพื่อส่วนรวมบาง ทำไปเรื่อยก็พยายาม แต่อย่างน้อยก็แฝงเกี่ยวกับการออกแบบให้ประหยัดพลังงาน...
          ผมก็ถามเกี่ยวกับเรื่องจรรณยาบรรณวิชาชีพ พี่มิกษ์เล่าว่าจรรณยาบรรณทำให้เรากล้าที่จะพูดให้คนอื่นฟังให้อาคารถูกต้องตามหลักกฎหมายและหลักวิชาชีพมันมีเหตุผลเพราะอะไร มันมีเหตุผลของมันเอง จริงแล้วจรรณยาบรรณเป็นสิ่งที่เพื่อให้ทุกคนที่อยู่ร่วมกันได้ปฎบัติตามกฎเกณฑ์ และเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย สิทธิความเท่าเทียมกัน....
          พี่มิกษ์เล่าต่อเรื่องสิ่งแวดล้อม เท่าที่ทำงานมาคนยุคใหม่จะใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเยอะขึ้น เห็นได้ชัดว่าคนที่ว่าจ้างที่บริษัท ถ้าอายุ25-40เขาจะคิดว่ามีการประหยัดพลังงานอย่างไร สภาพแวดล้อม การใช้พลังงานหมุนเวียน แต่ถ้าคนแบบนักธุระกิจ เขาก็จะเอาการใช้งานความคุ้มทุน ผลกำไรเข้าว่า แต่ก็ดีที่คนรุ่นใหม่ค่อนข้างใส่ใจ....
          ผมถามต่อว่านักศึกษาที่เรียนจบใหม่จากลาดกระบังเป็นอย่างไร มีขอเสนอแนะหรือปรับปรุงอะไรบ้าง พี่มิกษ์เล่าว่าเท่าที่เห็นจบออกมาใหม่ก็โอเค เหมือนว่ามีรูปแบบ license ของ สถ. ลาดกระบังก็คือ ทำงานได้ทุกประเภท เราเรียนเทคโนโลยีโครงสร้างเยอะ พอเข้าไปก็รู้งานได้เร็ว ยิ่งพี่ได้ร่วมงานกับวิศวกร ผู้คุมงานจนถึงผู้รับเหมาก็แล้วแต่ เราจะเข้าใจทันทีว่าเราเป็นผู้ออกแบบเริ่มต้นแบบเราจะรู้ว่าที่ทำไม่ได้เพราะอะไร ลาดกระบังจะเข้าใจว่ามันมีข้อจำกัดอย่างไร ส่วนหนึ่งก็เป็นข้อเสียคือว่าเราพยายามจะขีดกรอบไว้ แต่ในความจิงสิ่งที่ขีดกรอบจริงๆคือ เจ้าของอาคารมากกว่า...
          พี่มิกษ์เล่าต่อว่า ในช่วงแรกๆการทำงานในสำนักงานต้องอดทนสูง ให้พยายามแสดงให้เห็นว่าเรามีความสามารถและทำได้ ไม่ใช่แค่เขียนแบบเสร็จแต่เราต้องหาข้อมูล เพื่อโน้มน้าวแบบมีกรรมวิธีแล้ว มันจะสามารถแสดงให้เห็นว่ามันดีด้วย ยกตัวอย่างทำแบบแนวหวือหวาไปแต่ไม่มีข้อมูล เขาก็จะเห็นมันเป็นแค่การออกแบบที่แปลก แต่ไม่ใช่บอกให้ขีดกรอบตัวเองที่เราคิดว่าทำได้แต่ที่เราเรียน ตั้งแต่วิชาเราเรียน อย่างวิชา Concept เราต้องเรียนรู้ แม้จะต้องทำงานแล้วต้องค้นคว้าข้อมูลเรื่อยๆว่าโลกไปถึงไหนแล้ว เพราะเราคือผู้ที่เริ่มต้นการออกแบบทุกอย่างเราเป็นคนโน้มน้าวลูกค้าได้ทุกอย่าง ถึงสุดท้ายว่าเรื่องราคาหรือเม็ดเงินแต่อย่างน้อยให้เขาเห็นว่าการออกแบบมันมีอะไรมากกว่า และสามารถทำได้จริง แทนที่จะทำแบบเดิมๆในบริาัทที่พี่ทำปัจจุบันเขาบอกว่าเด็กจากลาดกระบังทำงานได้ดีมาก แต่ที่เขาไม่อยู่ต่ออาจจะเป็นเพราะเงินเดือนน้อยไม่สามารถจะทำการออกแบบได้อย่างเต็มที่ ตามที่อยากทำ เด็กลาดกระบังทำตัวเหมือนเป็นดราฟแมนแต่ยังมีความเป็นดีไซร์เนอร์อยู่ พี่มิกษ์เล่าต่อสิ่งที่อยากให้คงเอาไว้คือ วิชาเทคโนโลยีอาคาร เรื่องออกแบบอาจจะมีภาคพิเศษเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ คือเด็กจะได้มีความคิดที่หลุดกรอบแต่ยังคงความรู้พื้นฐานทุกอย่างที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
          ผมก็ขอให้พี่มิกษ์เล่าถึงช่วงที่เรียนอยู่ พี่มิกษ์ก็ไม่ใช่คนเกเรอะไร ตอนเรียนเหนื่อยแต่ก็สนุก เรียนที่ลาดกระบังก็โอเคนะ ต้องมาดูผลตอนทำงานจริงๆ และจริงพี่อยากคงไว้ซึ่งวิชาเทคโนโลยีอาคาร เมื่อกลับมาดู Detail งานคอนกรีตงานไม้จะได้เห็นวิธีการ เรื่องวิชาที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณหรือวิชา


Professional Practice เราจะไม่เข้าใจเลยว่าการดำเนินงานทำโครงการเป็นอย่างไรและการจะอยู่ร่วมกับ


วิชาชีพอื่นที่ทำงานร่วมกับเราควรทำอย่างไรและจะสื่อสารยังไง และถ้ามีงานที่ไม่มีข้อจำกัดใดมันก็จะ


สร้างยังไงก็ได้ แต่ถ้าโครงการที่ติดเรื่องกฎหมายหรือที่ดินผังสี ถ้าไปทำงานจริงจะรู้ได้เลยว่าคนที่อยู่


หน้างานจะน่าสงสารมากคือเราแค่เขียนแบบเราทำได้ แต่พื้นที่เป็นยังไงเราไม่รู้ และต้องรู้คืนอื่นเขา


ทำงานกันอย่างไร พี่มิกษ์บอกว่าวิชา Professional Practice สำคัญมากๆ เป็นการเตรียมรับการดำเนินงาน


กับคนหลายฝ่าย.....
           
          ครับผมก็สัมภาษณ์พี่มิกษ์จบเท่านี้.....


          แต่เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยน พี่มิกษ์เล่าให้ฟังเกี่ยวกับบริษัทประเภทที่รับเหมาไปในตัว คืออนาคต


สำนักงานออกแบบอย่างเดียวอาจจะถูกตีตลาดแย่งงานกับสำนักงานทั้งออกแบบและก่อสร้างเพราะ


สำนักงานแบบนี้ไม่คิดค่าแบบถ้าสร้างกับสำนักงานนี้ และลูกค้าเสียต้นทุนเรื่องค่าจ้างการออกแบบน้อย


กว่า พี่มิกษ์เล่าว่าที่บริษัทกำลังขยายตลาดสู่ภาคอีสานไปจังหวัดใหญ่ๆแล้วสองจังหวัด พี่มิกษ์ก็ถามถึง


เชียงใหม่บ้านผม อีกไม่น่าบริษัทเขาคงขยายตลาดไป เราก็คุยกันไปเรื่อยเปื่อยผมก็บอกงั้นผมเรียนจบจะ


ไปทำสำนักงานที่บ้านผมก่อน(ดีหรือเปล่า) พี่มิกษ์บอกตอนนี่มีสถาบันสอนสถาปัตยกรรมตามมหาลัยต่าง


จังหวัด มีเด็กจบใหม่ตั้งสำนักงานเพื่อเซ็นขออนุญาติแบบอย่างเดียวซึ่งมันผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ และ


อันตรายมาก เสี่ยงมากมาย ผมก็ให้ความเห็นว่าบางสถาบันเขาคงไม่เคยได้เรียนเกี่ยวกับการปฎิบัติ


วิชาชีพ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องอันตรายต่อตนเอง จากนั้นเราก็แลกเปลี่ยนมุมมองการคิดของสถาปนิกแนว


หน้าที่ไปพบเจอมาก็คุยกันไปเรื่อย....


          ทั้งนี้ครับขอขอบคุณพี่มิกษ์ หรือพี่ สมิกษ์ พวงราช มา ณ. ที่นี้ด้วยครับ
           
          ด้วยความเคารพอย่างสูง
          
          ศิริพันธ์ เวโรจน์ ผู้บันทึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น