วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

GO TO TRIP.(ณ.เชียงใหม่ภาคแรก)(ไตรภาค)

       เมื่อเราเดินทางมาด้วยรถไฟเวลาก็ค่ำมากรถบัสอีกคันมารับหมู่คณะที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ด้วยความเป็นคนเชียงใหม่ก็รู้สึกว่าเกิดมา20กว่าปีมาเหยียบสถานีเพียว2-3ครั้ง เราเดินทางไปที่พัก พักผ่อนเตรียมพรุ่งนี้เช้า....

        บันทึกนี้จะรวมเชียงใหม่เป็นความประทับใจในมุมมองที่เคยเห็นแล้วไม่สังเกตุและไม่เคยเห็นในบางมุม เริ่มจากเราออกไปดูเรือนไทยที่ทาง มช.ได้สะสม ทั้งซื้อและได้บริจาค นำมารวบรวมให้ศึกษา













เรือนไทยล้านนา ภูมิปัญญาการสร้างที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมต้นไม้ใหญ่พืชพันธ์ุคลุมดิน (ถ่ายรูปยังไงก็สวย)

























      เรือนล้านนาที่นี่ให้หมู่คณะได้ศึกษา ที่ว่าง วัสดุ การวางเรือน ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม หลังจากดูเรือนเราไปต่อยังวัดต้นเกว๋น เป็นชื่อที่ชาวบ้านแถบบ้านต้นเกว๋น ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง เป็นผู้ตั้ง เกว๋น” หรือชื่อที่ชาวเหนือเรียกว่า มะเกว๋น” หรือต้นตะขบป่า เนื่องจากสมัยก่อนรอบวัดมีป่าต้นมะเกว๋น วัดและหมู่บ้านจึงมีชื่อตามนั้น 
สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๙๙ สมัยพระเจ้ากาวิโรรส สุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ แต่ว่าเมื่อมีการบูรณะครั้งสุดท้าย ปี ๒๕๔๗  ๕ ปีที่ผ่านมา ได้ค้นพบว่าประวัติวัดนี้ มีอายุที่ยาวนานมากกว่า ๒๕๐ ปี แต่ค้นพบในอดีตในสมัยผู้ว่าชัยยา อายุ ๑๕๐ ปี อันนี้หลักฐานยังไม่ชัดเจน

วัดนี้มีความสำคัญในอดีต คือเป็นที่พักขบวนพระบรมธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทอง มาที่เชียงใหม่ ในอดีตเป็นประเพณีที่เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ มีการสรงน้ำพระธาตุ คือจากวัดพระธาตุจอมทองมาก็เดินทางมาด้วยขบวนช้าง ขบวนม้า แล้วแวะมาที่วัดต้นเกว๋น ให้ประชาชนแถวนี้สรงน้ำพระธาตุศรีจอมทอง

หลังจากนั้นก็อัญเชิญไปที่วัดสวนดอก ๓ วัน ๗ วัน แล้วก็ขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นประจำทุกปี เป็นเรื่องของเจ้านายฝ่ายเหนือในอดีต  วัดต้นเกว๋น เป็นวัดที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งนักวิชาการหรือผู้รู้ คนในด้านศิลปะก็บอกว่า เป็นวัดที่งามที่สุดในประเทศไทย
















เขาพูดอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นศิลปินต่าง ๆ ที่เรารู้จัก เช่น ท่านอังคาร  กัลยาณพงศ์  อาจารย์บางคนก็มานอนทั้งคืน มาดูความงามตอนกลางคืนยามพระอาทิตย์ตกดินแล้ว หรือมาดูตอนเช้าที่พระอาทิตย์ส่องวิหารเต็มที่ จะมาดูช่วงหน้าบันที่ได้รับการบูรณะจากท่านผู้ว่าชัยยา ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ แล้วก็บูรณะมาเรื่อย ๆ จนถึงปี ๒๕๓๒
         ก็ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพฯ เมื่อปี ๒๕๓๒  ถึงตอนนี้เป็นความภูมิใจของพี่น้องชาวบ้านว่าเป็นวัดหนึ่งในเชียงใหม่ที่มีความงาม และชาวบ้านหรือชาวต่างประเทศรู้จักกันหมดเมื่อพูดถึง วัดต้นเกว๋น
 
จุดเด่นของศิลปกรรมในวัดนี้โดยรวมจะเป็นพระวิหารและศาลา มณฑป ท่านผู้รู้บอกว่าศิลปะแบบนี้ไม่ใช่ของสุโขทัย จะเป็นศิลปะของล้านนาโดยเฉพาะ ไม่ใช่ของเชียงใหม่ ไม่ใช่ของพม่า เป็นลายเฉพาะไม่ว่าจะเป็นลายดอกไม้ ลายแกะสลักบนลายชุกชี แกะสลักหน้าบันก็ดี
        อีกอย่างหนึ่งก็คือ ลายปูนปั้น ตัวปูนที่อยู่บนเสาหน้าวิหารหน้าบันคือปูนติดไม้ ระยะเวลาร้อย ๆ ปี ตัวไม้มันกร่อนไป ปูนจะบังไว้อยู่ พอปูนมันกะเทาะออก ลายไม้จะออกเป็นลายตามรอยปูนเป็นลายอ่อนแก่ไปเลย ถือเป็นศิลปะล้านนาโดยเฉพาะ แตกต่างจากสุโขทัย แตกต่างจากพม่า
เคยมีการซ่อมเมื่อตอนผู้ว่าชัยยา มีการแกะเสริมที่หน้าบันใหม่ เอาช่างจากอยุธยามาแกะเป็นลายไทยไปทางรัตนโกสินทร์ ก็มีการประท้วงกัน ตามสื่อมวลชน ต้องรื้อหน้าบัน เอาช่างจากเชียงใหม่เข้ามาทำ ดูแล้วจากการบูรณะก็กลมกลืนกับของเก่าในอดีตเป็นร้อย ๆ ปี
ศาลาจัตุรมุขก็เหมือนกัน สร้างแบบไม่มีตะปู คือการเข้าสลักไม้ จะไม่ใช้ตะปูเลย ส่วนที่ใช้ตะปูก็จะตีขึ้นเอง เป็นลักษณะตะปู แต่ไม่ใช่เหล็กหล่อเป็นส่วน แต่ส่วนใหญ่เข้าสลักไม้ จากหัวเสาเป็นแพ เข้าสลักไม้ นี่คือจุดเด่น 
ช่วงแรกของการอนุรักษ์ชาวบ้านก็ไม่เข้าใจ คิดว่ากรมศิลปากรจะยึดไปแล้ว เป็นวัดของกรมศิลป์ ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง กว่าจะมาทำความเข้าใจ ก็ร่วมหลายปีเหมือนกัน ชาวบ้านจึงเข้าใจว่าทุกคนก็ต้องอนุรักษ์ไว้
        การทำงานสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในบริเวณพื้นที่กำแพง ถ้าจะมีการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ เช่น จะสร้างกุฏิ หอระฆัง ก็จะกันออกมานอกกำแพงหมดเลย ดูแล้วก็จะกลายเป็นวัดที่มีการแบ่งสัดส่วนออกมา คือ สังฆาวาสที่หนึ่ง พุทธาวาสที่หนึ่ง แยกเป็นสัดส่วนออกมา ความเข้าใจของชาวบ้านมีมากพอสมควร
ลักษณะเป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน ส่วนกลางของศาลามีจั่วซ้อนอยู่สองชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผาที่เรียกว่ากระเบื้องดินขอ 
ที่พิเศษกว่านั้นคือช่อฟ้าของหลังคาหลังนี้ ช่างโบราณได้ออกแบบให้เป็นนกที่มาเกาะได้อย่างลงตัว ต้องขอชื่นชมในความเด็ดขาดความเรียบง่ายและลงตัวในงานออกแบบ 
ที่กลางสันหลังคามีซุ้มมณฑปเล็กๆ ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า ปราสาทเฟื้อง ลักษณะเดียวกับที่พบในภาคอีสานและลาว.......

(อ้างอิงhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=248822)

       นี่คือความประทับใจส่วนตัวที่แค่ได้แวะชมเพียง 2 ที่ โปรดติดต่อภาคต่อไป จะเล่าความเรื่อง สถาปัตยกรรมของชาวบ้านและงานสถาปัตยกรรมประยุกต์ ของ อ.องอาจ สาตรพันธ์