วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทสัมภาษณ์รุ่นพี่สถาปนิก...

           บทสัมภาษณ์รุ่นพี่สายวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือที่เรียกกันว่า "สถาปนิก" ครับผมก็ได้ติดต่อรุ่นพี่เลย จะขอเล่าถึงบรรยายกาศการสัมภาษณ์ค่อนข้างเป็นกันเองอยู่พอควร ครับบทสัมภาษณ์ตอนแรกก็ได้ถามตามหัวข้อคำถาม แต่เมื่อเสร็จเรื่องคำถามผมก็มีโอกาศได้คุยนอกเรื่องแต่ก็เป็นเรื่องราวในวิชาชีพ และได้แลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์กัน การบันทึกครั้งนี้ผมจะนำประสบการณ์ที่ได้รับรู้มาเผยแพร่เพื่ออาจจะเปิดมุมมองใหม่ต่อไป....
          ทั้งนี้ขอขอบคุณ พี่ สมิกษ์ พวงราช รหัส 46020055 มา ณ.ที่นี้ครับ
          ผู้บันทึก ศิริพันธ์ เวโรจน์ รหัส 50020073

          ประวัติ พี่ สมิกษ์ พวงราช หรือพี่มิกษ์ ได้จบการศึกษามาจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรม(หลัก) ตอนนี้เป็นสถาปนิกวิชาชีพ พี่มิกษ์ได้เล่าให้ผมฟังว่า เริ่มทำงานจากบริษัท Developer ประมาณเกือบปี แล้วก็ย้ายบริษัทกับหัวหน้าที่นำพี่มิกษ์เข้าทำงาน ทำได้ประมาณครึ่งปี ก็ย้ายมาอยู่บริษัทรับสร้างบ้าน ตอนนี้ก็จะสามปีแล้ว...ผมถามต่อว่าพี่มิกษ์ได้ทำอะไรบ้างในบริษัทรับสร้างบ้าน พี่มิกษ์เล่าว่าได้ทำตั้งแต่งานเอกสาร ออกแบบจนถึงขั้นตอนก่อสร้าง โดยบริษัทสร้างบ้านมีลักษณะแบบ Turn Key คือบริษัทสร้างบ้านแบบครบวงจร ที่มีสถาปนิก วิศวกร จนถึงผู้รับเหมาที่สร้างบ้าน ที่พี่มิกษ์สนใจทำงานบริษัทนี้เพราะ ได้ความรู้ในการออกแบบจนถึงวิธีการสร้างอาคาร(ไม่ใช่อาคารประเภทบ้านอย่างเดียวที่รับทำ) พี่มิกษ์เล่าต่อว่า ได้สนใจสำนักงานออกแบบและก่อสร้าง เพราะสนใจเรื่องก่อสร้าง,โครงสร้าง และอยากทำงานในระดับที่พักอาศัยขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ก็คิดว่าทำงานบริษัทก่อสร้างสักพักเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ไปพัฒนาเพื่อทำสำนักงานของตัวเอง...
          ผมก็ได้ถามเกี่ยวกับข้อคิดสำคัญในการทำงาน พี่มิกษ์ก็เล่าว่า เมื่อจบใหม่เราก็มีอุดมการณ์ คือ เราออกแบบอาคารใดก็อยากให้เกิดผลกระทบที่ดีต่อสังคม แต่พอมาอยู่บริษัทรับสร้างบ้านก็ต้องลดอุดมการณ์แบบนี้ลง เพราะมีเรื่องการเงินมาเกี่ยวข้อง ซึ่งจริงๆแล้วทุกบริษัทน่าจะยาก เพราะลูกค้าเป็นนายทุนบางครั้งเราต้องตามใจนายทุน มันอยูที่จะสามารถโน้มน้าวเจ้าของโครงการ ให้มาสนใจโปรเจคของเราที่น่าจะทำเพื่อส่วนรวมบาง ทำไปเรื่อยก็พยายาม แต่อย่างน้อยก็แฝงเกี่ยวกับการออกแบบให้ประหยัดพลังงาน...
          ผมก็ถามเกี่ยวกับเรื่องจรรณยาบรรณวิชาชีพ พี่มิกษ์เล่าว่าจรรณยาบรรณทำให้เรากล้าที่จะพูดให้คนอื่นฟังให้อาคารถูกต้องตามหลักกฎหมายและหลักวิชาชีพมันมีเหตุผลเพราะอะไร มันมีเหตุผลของมันเอง จริงแล้วจรรณยาบรรณเป็นสิ่งที่เพื่อให้ทุกคนที่อยู่ร่วมกันได้ปฎบัติตามกฎเกณฑ์ และเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย สิทธิความเท่าเทียมกัน....
          พี่มิกษ์เล่าต่อเรื่องสิ่งแวดล้อม เท่าที่ทำงานมาคนยุคใหม่จะใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเยอะขึ้น เห็นได้ชัดว่าคนที่ว่าจ้างที่บริษัท ถ้าอายุ25-40เขาจะคิดว่ามีการประหยัดพลังงานอย่างไร สภาพแวดล้อม การใช้พลังงานหมุนเวียน แต่ถ้าคนแบบนักธุระกิจ เขาก็จะเอาการใช้งานความคุ้มทุน ผลกำไรเข้าว่า แต่ก็ดีที่คนรุ่นใหม่ค่อนข้างใส่ใจ....
          ผมถามต่อว่านักศึกษาที่เรียนจบใหม่จากลาดกระบังเป็นอย่างไร มีขอเสนอแนะหรือปรับปรุงอะไรบ้าง พี่มิกษ์เล่าว่าเท่าที่เห็นจบออกมาใหม่ก็โอเค เหมือนว่ามีรูปแบบ license ของ สถ. ลาดกระบังก็คือ ทำงานได้ทุกประเภท เราเรียนเทคโนโลยีโครงสร้างเยอะ พอเข้าไปก็รู้งานได้เร็ว ยิ่งพี่ได้ร่วมงานกับวิศวกร ผู้คุมงานจนถึงผู้รับเหมาก็แล้วแต่ เราจะเข้าใจทันทีว่าเราเป็นผู้ออกแบบเริ่มต้นแบบเราจะรู้ว่าที่ทำไม่ได้เพราะอะไร ลาดกระบังจะเข้าใจว่ามันมีข้อจำกัดอย่างไร ส่วนหนึ่งก็เป็นข้อเสียคือว่าเราพยายามจะขีดกรอบไว้ แต่ในความจิงสิ่งที่ขีดกรอบจริงๆคือ เจ้าของอาคารมากกว่า...
          พี่มิกษ์เล่าต่อว่า ในช่วงแรกๆการทำงานในสำนักงานต้องอดทนสูง ให้พยายามแสดงให้เห็นว่าเรามีความสามารถและทำได้ ไม่ใช่แค่เขียนแบบเสร็จแต่เราต้องหาข้อมูล เพื่อโน้มน้าวแบบมีกรรมวิธีแล้ว มันจะสามารถแสดงให้เห็นว่ามันดีด้วย ยกตัวอย่างทำแบบแนวหวือหวาไปแต่ไม่มีข้อมูล เขาก็จะเห็นมันเป็นแค่การออกแบบที่แปลก แต่ไม่ใช่บอกให้ขีดกรอบตัวเองที่เราคิดว่าทำได้แต่ที่เราเรียน ตั้งแต่วิชาเราเรียน อย่างวิชา Concept เราต้องเรียนรู้ แม้จะต้องทำงานแล้วต้องค้นคว้าข้อมูลเรื่อยๆว่าโลกไปถึงไหนแล้ว เพราะเราคือผู้ที่เริ่มต้นการออกแบบทุกอย่างเราเป็นคนโน้มน้าวลูกค้าได้ทุกอย่าง ถึงสุดท้ายว่าเรื่องราคาหรือเม็ดเงินแต่อย่างน้อยให้เขาเห็นว่าการออกแบบมันมีอะไรมากกว่า และสามารถทำได้จริง แทนที่จะทำแบบเดิมๆในบริาัทที่พี่ทำปัจจุบันเขาบอกว่าเด็กจากลาดกระบังทำงานได้ดีมาก แต่ที่เขาไม่อยู่ต่ออาจจะเป็นเพราะเงินเดือนน้อยไม่สามารถจะทำการออกแบบได้อย่างเต็มที่ ตามที่อยากทำ เด็กลาดกระบังทำตัวเหมือนเป็นดราฟแมนแต่ยังมีความเป็นดีไซร์เนอร์อยู่ พี่มิกษ์เล่าต่อสิ่งที่อยากให้คงเอาไว้คือ วิชาเทคโนโลยีอาคาร เรื่องออกแบบอาจจะมีภาคพิเศษเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ คือเด็กจะได้มีความคิดที่หลุดกรอบแต่ยังคงความรู้พื้นฐานทุกอย่างที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
          ผมก็ขอให้พี่มิกษ์เล่าถึงช่วงที่เรียนอยู่ พี่มิกษ์ก็ไม่ใช่คนเกเรอะไร ตอนเรียนเหนื่อยแต่ก็สนุก เรียนที่ลาดกระบังก็โอเคนะ ต้องมาดูผลตอนทำงานจริงๆ และจริงพี่อยากคงไว้ซึ่งวิชาเทคโนโลยีอาคาร เมื่อกลับมาดู Detail งานคอนกรีตงานไม้จะได้เห็นวิธีการ เรื่องวิชาที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณหรือวิชา


Professional Practice เราจะไม่เข้าใจเลยว่าการดำเนินงานทำโครงการเป็นอย่างไรและการจะอยู่ร่วมกับ


วิชาชีพอื่นที่ทำงานร่วมกับเราควรทำอย่างไรและจะสื่อสารยังไง และถ้ามีงานที่ไม่มีข้อจำกัดใดมันก็จะ


สร้างยังไงก็ได้ แต่ถ้าโครงการที่ติดเรื่องกฎหมายหรือที่ดินผังสี ถ้าไปทำงานจริงจะรู้ได้เลยว่าคนที่อยู่


หน้างานจะน่าสงสารมากคือเราแค่เขียนแบบเราทำได้ แต่พื้นที่เป็นยังไงเราไม่รู้ และต้องรู้คืนอื่นเขา


ทำงานกันอย่างไร พี่มิกษ์บอกว่าวิชา Professional Practice สำคัญมากๆ เป็นการเตรียมรับการดำเนินงาน


กับคนหลายฝ่าย.....
           
          ครับผมก็สัมภาษณ์พี่มิกษ์จบเท่านี้.....


          แต่เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยน พี่มิกษ์เล่าให้ฟังเกี่ยวกับบริษัทประเภทที่รับเหมาไปในตัว คืออนาคต


สำนักงานออกแบบอย่างเดียวอาจจะถูกตีตลาดแย่งงานกับสำนักงานทั้งออกแบบและก่อสร้างเพราะ


สำนักงานแบบนี้ไม่คิดค่าแบบถ้าสร้างกับสำนักงานนี้ และลูกค้าเสียต้นทุนเรื่องค่าจ้างการออกแบบน้อย


กว่า พี่มิกษ์เล่าว่าที่บริษัทกำลังขยายตลาดสู่ภาคอีสานไปจังหวัดใหญ่ๆแล้วสองจังหวัด พี่มิกษ์ก็ถามถึง


เชียงใหม่บ้านผม อีกไม่น่าบริษัทเขาคงขยายตลาดไป เราก็คุยกันไปเรื่อยเปื่อยผมก็บอกงั้นผมเรียนจบจะ


ไปทำสำนักงานที่บ้านผมก่อน(ดีหรือเปล่า) พี่มิกษ์บอกตอนนี่มีสถาบันสอนสถาปัตยกรรมตามมหาลัยต่าง


จังหวัด มีเด็กจบใหม่ตั้งสำนักงานเพื่อเซ็นขออนุญาติแบบอย่างเดียวซึ่งมันผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ และ


อันตรายมาก เสี่ยงมากมาย ผมก็ให้ความเห็นว่าบางสถาบันเขาคงไม่เคยได้เรียนเกี่ยวกับการปฎิบัติ


วิชาชีพ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องอันตรายต่อตนเอง จากนั้นเราก็แลกเปลี่ยนมุมมองการคิดของสถาปนิกแนว


หน้าที่ไปพบเจอมาก็คุยกันไปเรื่อย....


          ทั้งนี้ครับขอขอบคุณพี่มิกษ์ หรือพี่ สมิกษ์ พวงราช มา ณ. ที่นี้ด้วยครับ
           
          ด้วยความเคารพอย่างสูง
          
          ศิริพันธ์ เวโรจน์ ผู้บันทึก

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

GO TO TRIP.(ณ.เชียงใหม่ภาคแรก)(ไตรภาค)

       เมื่อเราเดินทางมาด้วยรถไฟเวลาก็ค่ำมากรถบัสอีกคันมารับหมู่คณะที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ด้วยความเป็นคนเชียงใหม่ก็รู้สึกว่าเกิดมา20กว่าปีมาเหยียบสถานีเพียว2-3ครั้ง เราเดินทางไปที่พัก พักผ่อนเตรียมพรุ่งนี้เช้า....

        บันทึกนี้จะรวมเชียงใหม่เป็นความประทับใจในมุมมองที่เคยเห็นแล้วไม่สังเกตุและไม่เคยเห็นในบางมุม เริ่มจากเราออกไปดูเรือนไทยที่ทาง มช.ได้สะสม ทั้งซื้อและได้บริจาค นำมารวบรวมให้ศึกษา













เรือนไทยล้านนา ภูมิปัญญาการสร้างที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมต้นไม้ใหญ่พืชพันธ์ุคลุมดิน (ถ่ายรูปยังไงก็สวย)

























      เรือนล้านนาที่นี่ให้หมู่คณะได้ศึกษา ที่ว่าง วัสดุ การวางเรือน ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม หลังจากดูเรือนเราไปต่อยังวัดต้นเกว๋น เป็นชื่อที่ชาวบ้านแถบบ้านต้นเกว๋น ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง เป็นผู้ตั้ง เกว๋น” หรือชื่อที่ชาวเหนือเรียกว่า มะเกว๋น” หรือต้นตะขบป่า เนื่องจากสมัยก่อนรอบวัดมีป่าต้นมะเกว๋น วัดและหมู่บ้านจึงมีชื่อตามนั้น 
สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๙๙ สมัยพระเจ้ากาวิโรรส สุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ แต่ว่าเมื่อมีการบูรณะครั้งสุดท้าย ปี ๒๕๔๗  ๕ ปีที่ผ่านมา ได้ค้นพบว่าประวัติวัดนี้ มีอายุที่ยาวนานมากกว่า ๒๕๐ ปี แต่ค้นพบในอดีตในสมัยผู้ว่าชัยยา อายุ ๑๕๐ ปี อันนี้หลักฐานยังไม่ชัดเจน

วัดนี้มีความสำคัญในอดีต คือเป็นที่พักขบวนพระบรมธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทอง มาที่เชียงใหม่ ในอดีตเป็นประเพณีที่เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ มีการสรงน้ำพระธาตุ คือจากวัดพระธาตุจอมทองมาก็เดินทางมาด้วยขบวนช้าง ขบวนม้า แล้วแวะมาที่วัดต้นเกว๋น ให้ประชาชนแถวนี้สรงน้ำพระธาตุศรีจอมทอง

หลังจากนั้นก็อัญเชิญไปที่วัดสวนดอก ๓ วัน ๗ วัน แล้วก็ขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นประจำทุกปี เป็นเรื่องของเจ้านายฝ่ายเหนือในอดีต  วัดต้นเกว๋น เป็นวัดที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งนักวิชาการหรือผู้รู้ คนในด้านศิลปะก็บอกว่า เป็นวัดที่งามที่สุดในประเทศไทย
















เขาพูดอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นศิลปินต่าง ๆ ที่เรารู้จัก เช่น ท่านอังคาร  กัลยาณพงศ์  อาจารย์บางคนก็มานอนทั้งคืน มาดูความงามตอนกลางคืนยามพระอาทิตย์ตกดินแล้ว หรือมาดูตอนเช้าที่พระอาทิตย์ส่องวิหารเต็มที่ จะมาดูช่วงหน้าบันที่ได้รับการบูรณะจากท่านผู้ว่าชัยยา ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ แล้วก็บูรณะมาเรื่อย ๆ จนถึงปี ๒๕๓๒
         ก็ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพฯ เมื่อปี ๒๕๓๒  ถึงตอนนี้เป็นความภูมิใจของพี่น้องชาวบ้านว่าเป็นวัดหนึ่งในเชียงใหม่ที่มีความงาม และชาวบ้านหรือชาวต่างประเทศรู้จักกันหมดเมื่อพูดถึง วัดต้นเกว๋น
 
จุดเด่นของศิลปกรรมในวัดนี้โดยรวมจะเป็นพระวิหารและศาลา มณฑป ท่านผู้รู้บอกว่าศิลปะแบบนี้ไม่ใช่ของสุโขทัย จะเป็นศิลปะของล้านนาโดยเฉพาะ ไม่ใช่ของเชียงใหม่ ไม่ใช่ของพม่า เป็นลายเฉพาะไม่ว่าจะเป็นลายดอกไม้ ลายแกะสลักบนลายชุกชี แกะสลักหน้าบันก็ดี
        อีกอย่างหนึ่งก็คือ ลายปูนปั้น ตัวปูนที่อยู่บนเสาหน้าวิหารหน้าบันคือปูนติดไม้ ระยะเวลาร้อย ๆ ปี ตัวไม้มันกร่อนไป ปูนจะบังไว้อยู่ พอปูนมันกะเทาะออก ลายไม้จะออกเป็นลายตามรอยปูนเป็นลายอ่อนแก่ไปเลย ถือเป็นศิลปะล้านนาโดยเฉพาะ แตกต่างจากสุโขทัย แตกต่างจากพม่า
เคยมีการซ่อมเมื่อตอนผู้ว่าชัยยา มีการแกะเสริมที่หน้าบันใหม่ เอาช่างจากอยุธยามาแกะเป็นลายไทยไปทางรัตนโกสินทร์ ก็มีการประท้วงกัน ตามสื่อมวลชน ต้องรื้อหน้าบัน เอาช่างจากเชียงใหม่เข้ามาทำ ดูแล้วจากการบูรณะก็กลมกลืนกับของเก่าในอดีตเป็นร้อย ๆ ปี
ศาลาจัตุรมุขก็เหมือนกัน สร้างแบบไม่มีตะปู คือการเข้าสลักไม้ จะไม่ใช้ตะปูเลย ส่วนที่ใช้ตะปูก็จะตีขึ้นเอง เป็นลักษณะตะปู แต่ไม่ใช่เหล็กหล่อเป็นส่วน แต่ส่วนใหญ่เข้าสลักไม้ จากหัวเสาเป็นแพ เข้าสลักไม้ นี่คือจุดเด่น 
ช่วงแรกของการอนุรักษ์ชาวบ้านก็ไม่เข้าใจ คิดว่ากรมศิลปากรจะยึดไปแล้ว เป็นวัดของกรมศิลป์ ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง กว่าจะมาทำความเข้าใจ ก็ร่วมหลายปีเหมือนกัน ชาวบ้านจึงเข้าใจว่าทุกคนก็ต้องอนุรักษ์ไว้
        การทำงานสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในบริเวณพื้นที่กำแพง ถ้าจะมีการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ เช่น จะสร้างกุฏิ หอระฆัง ก็จะกันออกมานอกกำแพงหมดเลย ดูแล้วก็จะกลายเป็นวัดที่มีการแบ่งสัดส่วนออกมา คือ สังฆาวาสที่หนึ่ง พุทธาวาสที่หนึ่ง แยกเป็นสัดส่วนออกมา ความเข้าใจของชาวบ้านมีมากพอสมควร
ลักษณะเป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน ส่วนกลางของศาลามีจั่วซ้อนอยู่สองชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผาที่เรียกว่ากระเบื้องดินขอ 
ที่พิเศษกว่านั้นคือช่อฟ้าของหลังคาหลังนี้ ช่างโบราณได้ออกแบบให้เป็นนกที่มาเกาะได้อย่างลงตัว ต้องขอชื่นชมในความเด็ดขาดความเรียบง่ายและลงตัวในงานออกแบบ 
ที่กลางสันหลังคามีซุ้มมณฑปเล็กๆ ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า ปราสาทเฟื้อง ลักษณะเดียวกับที่พบในภาคอีสานและลาว.......

(อ้างอิงhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=248822)

       นี่คือความประทับใจส่วนตัวที่แค่ได้แวะชมเพียง 2 ที่ โปรดติดต่อภาคต่อไป จะเล่าความเรื่อง สถาปัตยกรรมของชาวบ้านและงานสถาปัตยกรรมประยุกต์ ของ อ.องอาจ สาตรพันธ์