วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

GO TO TRIP.(วันที่สอง)

         จากวันแรกที่เดินทางแวะที่อุทัยธานี เรามาถึงที่พักโรงแรมที่จังหวัดลำปางในกลางดึก หมู่คณะก็พักผ่อนนอนหลับเพื่อเตรียมพร้อมในเช้าวันใหม่

          เช้าเราออกเดินทางใช้เวลาไม่มากนักออกไปยังวัดศรีรองเมือง ประวัติคราวๆดังนี้
        วัดศรีรองเมืองเป็นวัดพม่าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีอายุราว 103 ปี สร้างโดยช่างฝีมือจากพม่าล้วนๆ ซึ่งบางส่วนของจั่วหลังคาได้ถอดแบบมาจากปราสาทเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า             
        วัดนี้กำเนิดในดินแดนที่เมื่อก่อนเต็มไปด้วยป่าสัก และเป็นไม้สักที่ขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันนี้หาได้ยากเต็มที เพราะป่าสักธรรมชาติแถวภาคเหนือไม่มีเหลือให้ดูแล้วครับ มีแต่ป่าสักที่จ้างคนไปปลูกจึงดูเป็นแถวเป็นแนว และมีอายุไล่เรี่ยกัน 
        ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องการทำไม้ชาวอังกฤษชื่อ นาย เอช.สเลด ให้เข้ามาดำเนินการทำไม้ ในจังหวัดลำปาง ความหมายของการทำไม้ ในที่นี้ก็คือ ดำเนินการตัดไม้ในป่า ชักลาก เพื่อนำมาใช้ภายในในประเทศหรือส่งไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งสมัยนั้นและระยะต่อๆมา ธุรกิจการทำไม้สักในจังหวัดลำปางเฟื่องฟูมาก มีโรงเลื่อย โรงไม้่แปรรูป เกิดขึ้นมากมาย มีศูนย์ราชการด้านป่าไม้เกิดขึ้นหลายแห่ง 
         ตรงนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการให้เอกชนรับสัมปทานป่าไม้ โดยรัฐเรียกเก็บค่าสัมปทานหรือค่าธรรมเนียมการทำไม้ นอกจากนี้ก็ยังเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับป่าไม้ เช่นการใช้ช้างชักลากซุง โรงเลื่อยไม้ และการล่องซุงจากภาคเหนือมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งภาพเก่าๆของอาชีพล่องซุง ยังพอมีให้เห็น ขณะเดียวก็มีอาชีพแอบดักโขมยซุงที่ล่องมากับน้ำตามคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ แต่ก็ไม่ถือสากันนัก เพราะไม้ที่ล่องแม่น้ำวังมีนับร้อยนับพันต้น จะไปติดค้างตามตลิ่งที่ใด หรือถูกโขมยไปบ้างก็ไม่สู้จะเดือดร้อน อีกอย่างหนึ่งไม้สักสมัยนั้นก็มีราคาถูก 
         นาย เอช.สเลด ชาวอังกฤษ มีความชำนาญในเรื่องการทำไม้ในประเทศพม่ามาก่อน เมื่อเข้ามาทำไม้ในประเทศไทย ก็ได้นำลูกน้องกลุ่มหนึ่งที่เป็นชาวพม่าเชื้อสายไทยใหญ่(หรือเงี้ยว)เข้ามาด้วย จนชาวพม่าที่เข้ามาทำไม้กลายเป็นเศรษฐี และเป็นที่รู้จักในวงสังคม ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่า “ คหบดี “ 
          ชาวพม่าที่เข้ามาทำไม้เป็นคนนับถือศาสนาพุทธ มีศรัทธาแรงกล้าต่อพุทธศาสนา และตามความนิยมของผู้มีฐานะสมัยก่อน(รวมทั้งปัจจุบัน) จะนิยมสร้างวัดเพื่อเสริมสร้างบุญกุศลให้ตนเองและครอบครัว 
          แต่วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งในการสร้างวัดครั้งนี้ก็เพื่อต้องการชำระบาปจากการตัดต้นไม้ ซึ่งคนรุ่นก่อนๆเชื่อว่า มีผีป่า นางไม้ สิงสถิตย์อยู่ตามต้นไม้ใหญ่ และยังมีเทวดาอารักษ์ป่า การสร้างวัดจึงเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสิ่งที่ล่วงเกิน
(อ้างอิงประวัติ www.photoontour.com/gallery2/.../watsrirongmuang.htm)














         วัดศรีรองเมือง เป็นวันพม่าในยุคทำไม้สักทำให้มีรูปแบบลายฉลุตายเชิงชายการตกแต่งลายตะกั่วและกระจกแบบพม่าซึ่งในปัจจุบันหาแทบไม่ได้เลย สภาพแวดล้อมโดยรอบมีต้นไม้สูง(เส้นตั้ง)ล้อกับตัวอุโบสถหลังคาซ้อน เรื่องสีของอุโบสถเด่นชัดในสภาพแวดล้อมที่เป็นต้นไม้
         หลังจากนั้นได้เดินทางต่อไปยังวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ที่เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ 51 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา เป็นวัดที่เก่าแก่และสวยงามมีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1979 เป็นเวลานานถึง 575 ปี

เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า นางสุชาดา ได้พบแก้วมรกตในแตงโม (หมากเต้า) และนำมาถวายพระเถระรูปนั้นจึงจ้างช่างให้นำมรกตนั้นไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูปซึ่งก็คือ พระแก้วดอนเต้าซึ่งต่อมาได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวงสาเหตุจากตำนานบอกว่า มีผู้ไปฟ้องเจ้าเมืองลำปางในขณะนั้นว่า พระเถระและนางสุชาดาเป็นชู้กัน เจ้าเมืองลำปางจึงให้จับนางสุชาดาไปประหารชีวิต ส่วนพระเถระองค์นั้นทราบข่าวก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปหนีไป โดยได้นำไปฝากไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน ส่วนสถานที่ตั้งบ้านของนางสุชาดาก็ได้มีผู้มีจิตศรัทธาในคุณงามความดีของนาง บริจาคเงินสร้างวัดขึ้นชื่อวัดสุชาดาราม แต่มีบางสันนิษฐานบอกว่าเนื่องจากวัดพระแก้วดอนเต้า และ วัดสุชาดาราม นั้นร้างลง แต่บางที่ก็มีการสันนิษฐานเพิ่มว่า น่าจะเป็นเพราะย่านนี้เป็นสวนหมากเต้า และเป็นที่ดอน จึงชื่อพระธาตุว่า พระบรมธาตุดอนเต้า และชื่อวัดว่า วัดพระธาตุดอนเต้า และต่อมาเมื่อมีการประดิษฐานพระแก้วดอนเต้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระแก้วดอนเต้า
วัดพระแก้วดอนเต้า เป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุดอนเต้า ซึ่งเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า มณฑปศิลปะพม่า ลักษณะงดงาม ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ พอๆกับการสร้างวัดนี้ นอกจากนี้ยังมีวิหารหลวงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติล้านนา และวิหารพระเจ้าทองทิพย์
(อ้างอิงhttp://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม)






















วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม มีพระอุโบสถที่การซ้อนหลังคา4ชั้น ผนังมีความหนาสลับช่องเปิด ความหนาแสดงถึงความเป็นปริมาตร หลังคาซ้อนแบบล้านนา แผลง ค.สองจะอยู่ด้านในแล้วมีตุ็กตารองรับสาเหตุคาดว่ากันน้ำฝนไหลย้อนเข้ามาภายใน การลดหลังคาแนวเสาจะไม่ตรงกันคาดว่าสัดส่วนจะลดลงตามกันทั้งหมดของหลังคาชุดนั้นๆ บริเวณพระนั่งสวดจะเป็ผนังทึบ ช่องเปิดทำเป็นไม้แนวตั้ง หน้าบันเป็นรูปหางวรรณ และส่วนอื่นๆอย่างวิหารซุ้มทรงพม่าที่มีความวิจิตรพิศดาลในหารซ้อนชั้นหลังคาและตกแต่งลวดราย อุโบสถใหญ่ที่เป็นวัสดุเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเนื่องด้วยการใช้พื้นที่รองรับมากขึ้น แต่สัดส่วนและรูปแบบคล้ายกับอุโบสถหลังเก่าแต่วัสดุมีการเปลี่ยนเป็นวัสดุสมัยใหม่ทั้งหมด
หมู่คณะเราได้ออกเดินทางไป  วัดข่วงกอม ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างโดยครูบาศรีวิชัย เดิมมีสภาพทรุดโทรมเกินกว่าจะซ่อมแซม จึงเกิดการร่วมแรงร่วมใจระหว่างชาวเมืองปาน ช่างฝีมือท้องถิ่นและสถาปนิกของการเคหะแห่งชาติ โดยการนำของ ดร.วทัญญู ณ ถลาง อดีตผู้ว่าคนแรกของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งท่านเป็นสถาปนิกมีชื่อเสียงคนหนึ่งของไทย ที่มาใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการที่จังหวัดลำปาง
ดร.วทัญญู ณ ถลาง ได้ออกแบบวัดข่วงกอมใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่โบสถ์ ศาลาราย หมู่กุฏิ ซุ้มประตูโขงและภูมิทัศน์แวดล้อม โดยยังคงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาเดิมของท้องถิ่น ก่อสร้างด้วยวัสดุพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาประยุกต์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ทำให้ได้ผลงานออกมางดงามตามความต้องการของทุกฝ่าย และเป้นผลงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่ง
(อ้างอิงhttp://www.arty4you.net/index.php.option=com_content&view=article&id=143&Itemid=135)













        วัดข่วงกอม เป็นวัดเก่าที่ได้รับการบูรณะ ทางเข้าเป็นลานดินขนาดใหญ่ มีขอบเขตกำแพงหินและซุ้มประตูโขง ภายในกำแพงมีลานทราย เหตุที่มีลานทรายเพราะพระสงฆ์ไม่สามารถตัดหญ้าหรือต้นไม้ได้จะอาบัติ การทำลานทรายจะทำให้ไม่มีต้นหญ้าขึ้น รอบลานมีวิหารคตล้อมรอบ กลางสุดเป็นวิหารพระพุทธ โดยฐานวิหารเป็นวัสดุทรายล้าง ตัววิหารเป็นไม้และมีลวดลายแกะสลัก ไม่ได้เคลือบสี สภาพโดยรอบมีกุฎิ อาคารศาลา วัดตั้งอยู่ในชุมชนที่ทำนา มีบ้านแบบพื้นถิ่นหรือแบบชาวบ้านให้เห็นมากมายบ้านแต่ละหลังจะมีเอกลักษณ์ คือลานดินลานหญ้า ยกใต้ถุนสูง สวนไทย สวนบันได เป็นต้น














โดยรอบวัดข่วงกอมเป็นชุมชน ที่มีอาชีพทำนา โดยท้องน้ำจะอยู่ใกล้กับบ้านเรือนที่ตนอาศัยอยู่ บ้านเรือนจะเป็นกลุ่มๆจะมีดงไผ่เป็นรั้วรอบแบ่งอาณาเขตระหว่างกลุ่มบ้านเรือนและท้องนา การทำนาชาวบ้านมีการจัดการน้ำที่ดีคือการผันน้ำจากคูคลองเข้ามายังท้องนา ผ่านแนวกอไผ่ที่ล้อมรอบกลุ่มบ้านเรือนและท้องนา



















หลังจากที่เราได้เดินถ่ายรูปเก็บของมูล เราก็ได้พบเห็นความเป็นอยู่อาศัยที่พึงพิงธรรมชาติและดูแลธรรมชาติ เป็นการรักษาทรัพยากรสภาพแวดล้อม ช่วงเย็นใกล้ค่ำเราก็เดินทาง ไปยังคุ้มเก่าเจ้าพระยาปิงเมือง ปัจจุบันเป็นของทายาท ที่นั้นมียุ้งฉางขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบเห็นมา แสดงให้เห็นว่าอดีตลำปางเป็นเมืองๆหนึ่งที่ทำไม้สัก ก็ได้เปิดมุมมองหนึ่งคือการอนุรักษ์เพื่อการศึกษาทั้งนี้การอนุรักษ์ที่ไม่เป็นของตายแต่ยังมีการใช้งานปรับให้สามารถใช้พื้นที่ได้กับพฤติกรรมในปัจจุบัน แล้วหมู่คณะก็เดินทางกลับที่พัก...........

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น