วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

GO TO TRIP. (ก่อนเล่าเรื่อง)

           สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในมุมมองของผมคือ การแสดงถือตัวตน ความเป็นรากเหง้าของชนชาติ การอยู่ร่วมกันระหว่างคนและสภาพแวดล้อมที่ต้องพึ่งพากัน การอยู่แบบพอเพียงหรือการสะสมความสุขแบบอัตภาพ การใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายอย่างมีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
            ทริปนี้ใช้เวลา 9 วัน ในการเดินทางออกไปศึกษาเรียนรู้ เก็บข้อมูล โดยจะแบ่งประเภทของงานที่จะศึกษาเป็น 3 ประเภท
           1.สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบชาวบ้าน
           2.สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบประเพณี
           3.สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบประยุกต์

ก่อนการออกทริป
บ้านเขาแก้วและหอวัฒนธรรมไทยวน อ.ทรงชัย วรรณกุล
บ้านเขาแก้ว
          บ้านเขาแก้ว เป็นบ้านที่ อ.ทรงชัย ได้ใช้เวลาในการศึกษาและรวบรวม สิ่งของต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต วิถี ภูมิปัญญา โดยบริเวณบ้านมีการจัดองค์ประกอบของวัตถุทางภูมิปัญญา จัดที่ว่างของลานดิน ทางเดินสู่ตัวบ้าน สวนบันได อุปกรณ์ต่างๆ ตัวอาคารและสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าอาหาร
          ที่ตั้งของบ้านเขาแก้ว อยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก จังหวัดสระบุรี โดยประวัติศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวร ได้กวาดต้อนเทครัว คนทางภาคเหนือลงมายังภาคกลางเพื่อหนีศึกสงครามและให้ช่วยในการออกศึกสงครามรวมทั้งชาวไทยวนอีกด้วย
          โดยชุมชนไทยวนมีการตั้งถิ่นริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก จังหวัดสระบุรี บ้านเขาแก้วและหอวัฒนธรรมไทยวน อ.ทรงชัยได้ใช้เวลาศึกษาสภาพการเป็นอยู่เป็นไทยพื้นถิ่นที่อาศัยสภาพแวดล้อมและรวบรวมเครื่องมือภูมิปัญญาท้องถิ่นและเรือนเก่า นำมาบูรณะและจัดแสดง โดยการจัดแสดงถูดสอดแทรกกับการใช้งานและการใช้ชีวิตจริง จึงทำให้การจัดแสดงมีการผสมผสานแล้วเกิดความกลมกลืน
คูน้ำ เป็นรั้วของบริเวณเขตบ้านอาศัย ฝั่งด้านนอกเป็นป่าอาหารด้านบริเวณเขตบ้านเป็นพันธุ์ไม้ ที่เป็นมงคล เป็นอาหาร สมุนไพร 
ลานดินเป็นองค์ประกอบสำคัญที่แสดงถิ่งรูปแบบพื้นถิ่น ทั้งนี้รวมถึง สวนแบบไทยและรูปแบบสถาปัตยกรรมอีกด้วย

ทางเดินไม้ สวนไทย และต้มไม้ใหญ่ให้ร่มเงา

อ.ทรงชัย วรรณกุล และ อ.จิ๋ว(ใส่หมวก)

การนำอุปกรณ์เครื่องใช้มาผสมผสานกับการจัดสวนแบบไทย

รั้งตาแสง ภายในใต้ถุนมีการจัดแสดงเครื่องมือทางภูมิปัญญาไทย

ใต้ถุนสูงเอกลักษณ์ของบ้านไทย เพื่อนหนีน้ำท่วมและสัตว์ร้าย

การจักแสดงครัวไฟ

ท่าน้ำ เรือนไทยมุงคา ด้านหลังคือสภาพแวดล้อม

สระน้ำและป่าอาหาร พืชพันธุ์ไม้หลายชนิดที่สามารถบริโภคเพื่อความอยู่รอด

เครื่องมือทางภูมิปัญญา

ทางเดินกลมกลือนกับสภาพของลานดิน

สวนบันไดสิ่งสำคัญส่วนหนึ่ง น้ำจากการล้างเท้าจะถูกดูดซับด้วยต้นไม้
           หมู่คณะเดินทางออกจากบ้านเขาแก้วด้วยการเดินนำของ อ.ทรงชัยและ อ.จิ๋ว ข้ามถนนมาอีกฝั่ง บริเวณนั้นจะติดกับแม่น้ำป่าสัก และเป็นที่แสดงของ หอวัฒนธรรมไทยวน
           หอวัฒนธรรมไทยวน จังหวัด สระบุรี เป็นที่เรียนรู้ศึกษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของชาวไทยวน ที่คล่้ายคลึงกับชาวล้านนา ทั้งการละเล่น ประเพณี การแสดง วัฒนธรรม และอื่น เพราะเดิมชาวไทยวนมีถิ่นฐานบริเวณเชียงแสน ทางหอวัฒนธรรมได้มีการจัดแสดงหมู่เรือนไทย การตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำ การละเล่นแสดงต่างๆ เครื่องมือภูมิปัญญา เครื่องดนตรี ยานพหนะสัญจรสมัยก่อน

หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน สระบุรี



ซุ้มประตูและรั้วตาแสง

ก๋วยเตี๋ยวบ้านนอกชาม20บาทอาหารกลางวัน

เดินลงมายังลานดินริมน้ำ พบการซ้อมฟ้อนรำของเด็กๆ

ท่าเรือ เรือยานพาหนะสัญจรสมัยก่อน

ลานหญ้า โรงครัว(ครัวไฟ) เปิดใตุ้ถุนโล่งระบายอากาศ ด้านหลังเป็นห้องน้ำมีการปิดบังสายตาด้วยพุ่มไม้และรั้วตาแสง

พื้นคอนกรีตกับบันไดไม้

ลานหญ้า 

เด็กๆฟ้อนรำ

การสร้างทางเดินที่ภูมิประเทศมีความลาดชั้น

ท่าน้ำ ที่จอดเรือ เรือนแพ



เรือนไทย ใต้ถุนเป็นที่จอดเรือ

กะลา สร้างอาณาเขต ระหว่างลานดินในลานดิน

ทางเดินสร้างเข้าแก้ไขความลาดเอียงของพื้นที่

ลานกิจกรรม หมู่เรือน ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา

น้องเค้าน่ารักมากๆ 555

กลองสะบัดชัย

สวนแบบไทยที่ผสมผสานกับถนนลาดยาง

รั้วตาแสงและสวนไทยแบบกระถาง

วัสดุและสภาพแวดล้อม

บรรยายกาศริมแม่น้ำป่าสัก
          หลังจากหมู่คณะได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หอวัฒนธรรมแล้ว ได้ออกเดินทางต่อช่วงนั้นก็เป็นช่วงเย็น ได้ไปดูตลาดนัดแต่เสียดายที่เปิดวันอาทิตย์ ที่ตลาดนัดนั้นมีการใช้เรือนเครื่องผูกสร้างเป็งเพิงง่ายๆ หมู่คณะจึงเดินทางต่อไปยังตลาดริมแม่น้ำป่าสัก
           ตลาดเก่า นั้นมีเอกลักษณ์แสดงถึงการค้าขายของคนในพื้นที่ ตลาดมีที่ตั้งริมน้ำเพื่อการขนส่งคมนาคมที่สะดวก บริเวณตลาดจะมีห้องแถวที่เป็นร้านค้าขนาบถนนที่งสองฝั่ง บริเวณใกล้กันจะมีโรงสีข้าว ส่วนใหญ่เจ้าของโรงสีข้าวจะเป็นเจ้าของตลาดด้วย





         รูปแบบอาคารบ้านแถวร้านค้าขายริมถนนในบริเวณตลาด หลังจากนั้นหมู่คณะก็เดินทางกลับ กรุงเทพ พร้อมกับการวางแผนเพื่อการเตรียมตัวออกทริป 9 วันแบบจริงจัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น